หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การสร้างความมั่นคงของชีวิต

                สถานการณ์ปัจจุบัน  ความมั่นคงของชีวิตของแต่ละบุคคลนั้นลดน้อยลงไปทุกที  เงินเก็บที่คิดว่าจะเอาไว้ใช้ยามเกษียณ ได้ถูกแปลเปลี่ยนเป็นทุนในการดำเนินชีวิตไปบ้างแล้วก็มี เพราะหวังพึ่งลูกหลานก็คงไม่ได้ ทุกคนต่างดิ้นรนเพื่อตนเองและคนในครอบครัวด้วยกันทั้งนั้น  แล้วจะหยุดพักได้อย่างไร  เมื่อไหร่ถึงจะสบาย  ได้พักผ่อนซะที  คำถามหลายๆคำถามที่ตั้งไว้ในใจของหลายคน  ความจริงดิฉันว่า  ท่านมีคำตอบอยู่ในใจอยู่แล้วนะคะว่าจะเป็นอย่างไร   สิ่งสำคัญที่อยากจะบอก  หรือจะเสนอให้ท่านได้คิดว่า  การวางแผนการเงินสำหรับอนาคตที่ดีที่สุด คือ การมีเงินออมค่ะ  ถึงแม้ว่า  ท่านจะมีงาน มีธุรกิจมากมายเท่าใด  หากยามชราท่านไม่มีเงินออมเลยชีวิตของท่านรันทดแน่นอนค่ะ
               แต่เมื่อเราออมช้า  การออมก็ต้องสูง เช่นเดียวกัน  แต่ทุกท่านต้องอดทนนะคะ เพื่อความมั่นคง
ของชีวิต ในวัย 65 ปี หรือ 60 ปี ท่านก็จะสามารถนำเงินนั้นออกมาใช้ได้  ปัจจุบันนี้ กว่าจะเสียชีวิตก็คง
ต้องใช้มากอยู่นะคะ  ตามแต่ พฤติกรรมการใช้ชีวิตของแต่ละท่าน  สำหรับท่านที่อยู่แบบพอเพียงก็สบายค่ะ อาจจะไม่ต้องถึงล้านก็พออยู่ได้  แต่สำหรับท่านที่อยู่แบบสบายๆ  มันก็ต้องเพิ่มขึ้นตามลำดับนะคะ  แล้วแต่ว่าท่านจะอยู่ยาวนานแค่ไหน  ซึ่งปัจจุบันก็เป็นที่ทราบกันดีว่า  อายุขัยของแต่ละท่านมีแนวโน้มจะอยู่ยาวนานนะคะ ฉะนั้นแล้ว  การเริ่มต้นออมเงินในวันนี้อย่างเหมาะสม  และอยู่อย่างพอเพียงจนเป็นนิสัยจะเป็นประโยชน์และดีมากสำหรับทุกท่าน  ฝากให้เราช่วยดูแล   อย่าลืมนะคะ ลองเก็บไปคิดและทำดูนะคะ

การสร้างอัจฉริยะตัวน้อย

      การสร้างอัจฉริยะตัวน้อย  หมายถึง  การให้โอกาสในการเรียนรู้แก่ลูกๆหรือเด็กๆที่อยู่ในความปกครองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  สิ่งสำคัญ คือ 
1.การให้โอกาสเด็กๆได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกับสภาพของสิ่งแวดล้อมที่เป็นความจริง ด้วยการเล่นหรือการทำกิจกรรมต่างๆพร้อมๆกับครอบครัวหรือผู้เลี้ยงดู 
2.การบอกเล่าให้เด็กฟังในสิ่งที่พวกเขาจะต้องรู้ตามโอกาสต่างๆอย่างเหมาะสม  เช่น  การแนะนำ  ชี้แจงรายการต่างๆในทีวี เป็นต้น
3. การฝึกให้เด็กเล่นอย่างอิสระ แต่ค่อยๆสร้างเงื่อนไข กฏเกณฑ์ เพิ่มขึ้นทีละน้อย
4. การปล่อยให้เด็กๆคิดเอง  ตอบคำถามต่างๆด้วยตนเอง หากเด็กตอบไม่ถูกต้องแต่ยอมรับได้ ผู้ใหญ่ควรฟังและให้โอกาสเด็กคิดเองก่อน  เพราะเด็กจะมีวิธีคิดแบบเด็กๆ ซึ่งหลายๆอย่างผู้ปกครองอาจจะไม่เข้าใจ
5. การส่งเสริมให้เด็กรู้จักการตั้งคำถาม โดย  อาจจะใช้ประโยคตัวอย่าง  ที่พ่อ แม่  หรือผู้ปกครอง  พาตั้งคำถาม  และพาเด็กถามได้
6. การตอบคำถามทุกประเด็นด้วยความเต็มใจ
7.  ผู้ปกครองควรเป็นตัวอย่างที่ดี  เช่น  ต้องเป็นคนขยันอ่าน  ขยันเขียน  เด็กๆจะเอาเป็นแบบอย่าง

การพัฒนาองค์กร

      การพัฒนาองค์กร  หมายถึง การปรับปรุง เปลี่ยนแปลง  รวมถึงการสร้างสรรค์ผลงานในด้านต่างๆขององค์กรให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม โดยอาศัยความสามารถ  ความสามัคคี  ความร่วมมือร่วมใจของคนในองค์กรนั้นๆ และต้องอาศัยกระบวนการสำคัญที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร  หรือหมายถึงการพัฒนาทีมงาน หลายๆปัจจัยด้วยกัน